วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม2559

 (เวลา 14.30-17.30)




ความรู้ที่ได้รับ

๐ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ ตีเครื่องดนตรี ที่ทำจากไม้ เหล็ก หนัง
3. การตบมือ หรือดีดนิ้ว เป็นจังหวะ
 ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ
   จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
 พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่
 หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
การฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / ประกอบเพลง
การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย

จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้ฝึกระเบียบวินัย / เรียนรู้จังหวะ / ความกล้า / ความจำ
เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
-—สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-—ครูควรสร้างบรรยากาศสร้างให้เด็กมีความมั่นใจ  ความกล้า
-—ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป แต่ควรพูดในเชิงเสนอแนะ เมื่อเด็กบางคยัง
คิด   ไม่ออก
-—จัดกิจกรรมวันละไม่น้อยกว่า 15-20 นาที
-—ก่อนกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้เด็กพักผ่อนนิ่งๆอย่างน้อย   2 นาที
-ในระยะแรกให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมกลุ่มทีละไม่เกิน 10 คน แต่ในระยะต่อไป อาจเพิ่มจำนวนเด็กมากขึ้น
ครูอาจใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะสัมพันธ์กับทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อสั่ง
ให้“หยุด”เด็กต้องจับกลุ่มกัน 3 คน

แนวทางการประเมิน

1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม



การเคลื่นไหวตามจังหวะ


การกลิ้งหมุนตัวตามที่สั่ง



การเคลื่อนไหวอยู่ากับที่โดยการชูแขนให้สุดและเขย่งเท้า




การเต้นเพลงที่ให้ไปหาเพลงมา

การโยกไปโยกมาอยู่กับที่






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  สามารถนำท่าไปสอนเด็กเต้น และออกกำลังกาย การนำท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่ให้เด็กได้ออกกำลังกาย และสามารถเล่นหรือถามเด็กๆให้ตอบคำถามได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
 ตั้งใจเรียน กล้าแสดงออกมากขึ้น และสนุกกับการเรียน 
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆกล้า่แสดง และมีความสุขกับการเต้นของเพลงตัวเอง เพื่อนตั้งใจและเคลื่อนไหวได้ดี
ประเมินอาจารย์
เนื้อหาที่สอนสนุก และเคลื่อน และทำให้คิดตามอย่งเพลินเพลิด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น